การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มคณะราษฏร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งคณะราษฏรได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ และคณะราษฏรก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระราชกำหนดนิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่ในการสั่งปราบปรามคณะราษฏรในข้อหากบฏก็คงจะทรงทำได้ เพราะทหารในส่วนหัวเมืองที่ยังจงรักภักดีกับพระองค์ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เนื่องจากพระองค์เองทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอภิรัฐมนตรีสภาทัดทานอยู่ พระองค์จึงต้องรอโอกาสอันสมควร แต่เมื่อคณะราษฏรได้ชิงลงมือก่อการปฏิวัติก่อนก็สอดคล้องกับพระราชดำริ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มคณะราษฏร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งคณะราษฏรได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ และคณะราษฏรก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระราชกำหนดนิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่ในการสั่งปราบปรามคณะราษฏรในข้อหากบฏก็คงจะทรงทำได้ เพราะทหารในส่วนหัวเมืองที่ยังจงรักภักดีกับพระองค์ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เนื่องจากพระองค์เองทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอภิรัฐมนตรีสภาทัดทานอยู่ พระองค์จึงต้องรอโอกาสอันสมควร แต่เมื่อคณะราษฏรได้ชิงลงมือก่อการปฏิวัติก่อนก็สอดคล้องกับพระราชดำริ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีประเด็นที่น่าศึกษาดังนี้
1.จุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ของคณะราษฏร คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยยึดถืออุดมการณ์ 6 ประการ คือ
- จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
- จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
- จะบำรุงความสุขสบายสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสมอกัน
- จะต้องให้ราษฏรมีเสรีภาพ โดยไม่ขัดกับหลัก 4 ประการข้างต้น
- จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฏรอย่างเต็มที่
2. สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากประเทศตะวันตก กลายเป็นผู้นำสมัยใหม่ และรับแนวคิดแบบประชาธิปไตยมาเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
- จิตสำนึกของคนรุ่นใหม่และอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีลักษณะก้าวหน้าในสมัยนั้น ในช่วง เวลาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตยได้มีความตื่นตัว และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนต่างๆ ก็พากันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเขียนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแพร่หลาย
- ฐานะทางการคลังของประเทศและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 การคลังของประเทศเริ่มตกต่ำลงในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเกิดตกต่ำลง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพยายามตัดทอนรายจ่ายทุกประเภทให้เหลือเท่าที่จำเป็น มีการปรับปรุงระบบภาษีให้รัดกุม เพื่อจะได้เก็บภาษีให้มากขึ้น และใช้วิธีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาลให้น้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจทั่วโลกก็กำลังตกต่ำลง จึงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจนรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้บรรลุผลได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏรใน พ.ศ.2475
3. องค์ประกอบคณะราษฏร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนจำนวน 99 คน โดยมีบุคคลสำคัญดังนี้
- พ.อ.พระยาพลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร
- พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
- พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
- พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
- พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
- พ.ต.หลวงทัศนัยนิยมศึก
- น.ต.หลวงสิทธุ์สงครามชัย
- น.ต.หลวงศุภชลาศัย
- หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์) หัวหน้าฝ่ายพลเรือน
- นายจรูญ สืบแสง
- นายควง อภัยวงศ์
4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
- คณะราษฏรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้เปิดสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" - สาระสำคัญของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว กำหนดไว้ว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนมาเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงตำแหน่งบริหารที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการคณะราษฏร คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราฏษรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศ ซึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฏรให้เป็นประธานคณะกรรมการคณะราษฏร
5.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับเป็นหลักการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็น นายกรัฐมนตรี ทางด้านคณะราษฏรได้ส่งบุคคลระดับหัวหน้าฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมรัฐบาล โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้คุมเสียงข้างมากอยู่ในคณะรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงเรียกได้ว่าเป็น "รัฐบาลของคณะราษฏร"ซึ่งเป็นสมาคมการเมืองเดียวในขณะนั้น
1.จุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ของคณะราษฏร คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยยึดถืออุดมการณ์ 6 ประการ คือ
- จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
- จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
- จะบำรุงความสุขสบายสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสมอกัน
- จะต้องให้ราษฏรมีเสรีภาพ โดยไม่ขัดกับหลัก 4 ประการข้างต้น
- จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฏรอย่างเต็มที่
2. สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากประเทศตะวันตก กลายเป็นผู้นำสมัยใหม่ และรับแนวคิดแบบประชาธิปไตยมาเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
- จิตสำนึกของคนรุ่นใหม่และอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีลักษณะก้าวหน้าในสมัยนั้น ในช่วง เวลาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตยได้มีความตื่นตัว และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนต่างๆ ก็พากันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเขียนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแพร่หลาย
- ฐานะทางการคลังของประเทศและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 การคลังของประเทศเริ่มตกต่ำลงในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเกิดตกต่ำลง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพยายามตัดทอนรายจ่ายทุกประเภทให้เหลือเท่าที่จำเป็น มีการปรับปรุงระบบภาษีให้รัดกุม เพื่อจะได้เก็บภาษีให้มากขึ้น และใช้วิธีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาลให้น้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจทั่วโลกก็กำลังตกต่ำลง จึงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจนรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้บรรลุผลได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏรใน พ.ศ.2475
3. องค์ประกอบคณะราษฏร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนจำนวน 99 คน โดยมีบุคคลสำคัญดังนี้
- พ.อ.พระยาพลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร
- พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
- พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
- พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
- พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
- พ.ต.หลวงทัศนัยนิยมศึก
- น.ต.หลวงสิทธุ์สงครามชัย
- น.ต.หลวงศุภชลาศัย
- หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์) หัวหน้าฝ่ายพลเรือน
- นายจรูญ สืบแสง
- นายควง อภัยวงศ์
4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
- คณะราษฏรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้เปิดสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" - สาระสำคัญของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว กำหนดไว้ว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนมาเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงตำแหน่งบริหารที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการคณะราษฏร คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราฏษรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศ ซึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฏรให้เป็นประธานคณะกรรมการคณะราษฏร
5.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับเป็นหลักการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็น นายกรัฐมนตรี ทางด้านคณะราษฏรได้ส่งบุคคลระดับหัวหน้าฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมรัฐบาล โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้คุมเสียงข้างมากอยู่ในคณะรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงเรียกได้ว่าเป็น "รัฐบาลของคณะราษฏร"ซึ่งเป็นสมาคมการเมืองเดียวในขณะนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น