ความหมายของกฎหมาย
นักปรัชญาทางกฎหมาย ได้ให้ความหมายคำว่า “กฎหมาย” ดังนี้1.โธมัส ฮอบส์ และ จอห์น ออสติน กล่าวว่า กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือคำบัญชาของรัฎฐาธิปัตย์(ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ) สั่งแก่ราษฎรทั้งหลาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องถูกลงโทษ
2.พระบรมวงค์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งกฎหมายไทย พระองค์ทรงกล่าวว่า “กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลายเมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องโทษ”
3.ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติติศาสตร์ นักกฎหมาย อธิบายว่า “กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อห้ามซึ่งมนุษย์เคารพในความประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันมาจากรัฎฐาธิปัตย์ หรือมวลมนุษย์ มีลักษณะทั่วไปใช้บังคับได้เสมอไปและจำต้องปฏิบัติตาม”
4. ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย นักกฎหมาย อธิบายว่า “ กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐ ซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้าย หรือ ถูกลงโทษ”
จากคำจำกัดความ ของคำว่ากฎหมาย ของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ข้างต้น สรุปได้ว่า
“ กฎหมาย” คือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฎฐาธิปัติย์ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดความประพฤติของมนุษย์ มีลักษณะที่ใช้ได้ทั่วไป และใช้บังคับได้เสมอ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ”
ความสำคัญของกฎหมาย
1.กฎหมายเป็นกติกาสำคัญในการจัดการปกครองบ้านเมือง กฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจผู้ปกครอง อันได้แก่ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อรัฐพร้อมกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง อันเป็นกติกาสำคัญที่ทำให้การปกครองบ้านเมืองดำเนินไปอย่างราบรื่น
2.กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคฃของประชาชน ภายใต้การปกป้องคุ้มครองของกฎหมาย ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พร้อมทั้งมีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
3.กฎหมายเป็นกลไกที่ทำให้สังคมเป็นระเบียบและสงบสุข กฎหมายบังคับให้ผู้คนประพฤติสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ในขณะเดียวกันก็ห้ามไม่ให้ผู้คนกระทำในสิ่งที่จะสร้างความเดือดร้อนรบกวนผู้อื่น หรือก่อความเสียหายแก่ส่วนรวม ทำให้เกิดบ้านเมืองที่น่าอยู่ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบสุข
ประเภทของกฎหมาย
แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ กฎหมายมหาชน และ กฎหมายเอกชน
1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกัประชาชน โดยรัฐและหน่วยงานของรัฐเป็นฝ่ายผู้ปกครองซึ่งมีฐานะเหนือกว่าประชาชน กฎหมายที่จัดอยู่ในประเภทกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมาย ต่อไปนี้
1.1รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
1.2 กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักการและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารประเทศ
1.3กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่เป็นความผิด และการกำหนดโทษในการกระทำความผิด ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญา
1.4กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญา
1.5กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการปฏิบัติในการฟ้งร้องดำเนินคดีทางแพ่ง
1.6 กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งศาล และอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและของผู้พิพากษา
2.กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย กฎหมายเอกชนแบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์ ในประเทศไทยได้รวมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน คือ ประมวลกำหมายแพ่งและพาณิชย์
1.กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ของเอกชนโดยทั่วไป ซึ่งไม่ส่งผลกระทบไปถึงสาธารณชนในส่วนรวม เช่น บัญญัติในเรื่องครอบครัว มรดก ทรัพย์ หนี้
2.กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้า หรือประกอบธุรกิจในลักษณะที่อาจส่งผลกระทบไปในวงกว้าง เช่น การลงทุนร่วมกันในลักษณะของบริษัท ธุรกิจบริการที่เกี่ยวกัประชาชน
จำนวนมาก
จำนวนมาก
- ประเภทกฎหมายแบ่งตามองค์กร ที่จัดทำกฎหมาย จำแนกได้ 3 ประเภท
1. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายสำคัญของประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนจึงจะประกาศใช้บังคับได้ ร่างพระราชบัญญัติจะได้รับการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรก่อน เมื่อสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้ว วุฒิสภาจะนำมาพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง วุฒิสภาเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับได้
2. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ได้แก่ กฎหมายดังต่อไปนี้
2.1พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อประโยชน์ของประเทศ หลังจากประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องรับนำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา ถ้ารัฐสภาอนุมัติก็จะมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป หากรัฐสภาไม่อนุมัติก็ให้พระราช กำหนดนั้นตกไป
2.1พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อประโยชน์ของประเทศ หลังจากประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องรับนำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา ถ้ารัฐสภาอนุมัติก็จะมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป หากรัฐสภาไม่อนุมัติก็ให้พระราช กำหนดนั้นตกไป
2.2 พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจจัดทำขึ้นโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาแล้วนายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วจึงประกาศใช้บังคับ
2.3กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงจะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
3.กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น ได้แก่ กฎหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจตราขึ้นใช้บังคับในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ
ศักดิ์ของกฎหมาย
ศักดิ์ของกฎหมาย ( hierachy of law) คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูงกว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออกกฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
ว่ากันแต่ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษรมากที่สุด
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย
มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่าด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติแต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราชบัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความในรัฐธรรมนูญ
กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติชั่วแต่ว่าใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน
รองศาสตราจารย์ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อพระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง"
ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น
คลิกเข้าทำแบบทดสอบ
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออกกฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
ว่ากันแต่ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษรมากที่สุด
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย
มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่าด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติแต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราชบัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความในรัฐธรรมนูญ
กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติชั่วแต่ว่าใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน
รองศาสตราจารย์ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อพระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง"
ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น