วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว

สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา

การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์ศาลยุติธรรม
ด • พ • กระบบศาลในประเทศไทย

ศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง · ศาลอาญา · ศาลจังหวัด · ศาลแขวง · ศาลเยาวชนและครอบครัว · ศาลแรงงาน · ศาลภาษีอากรกลาง · ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ · ศาลล้มละลายกลาง) · ศาลอุทธรณ์ · ศาลฎีกา (แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)

ศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้น · ศาลปกครองสูงสุด

ศาลรัฐธรรมนูญ (คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)

ศาลทหาร ศาลทหารในเวลาปกติ · ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ · ศาลอาญาศึก



รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย

นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร
รักษาการนายกรัฐมนตรี (ผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี)
รัฐประหาร
นายกรัฐมนตรีไทย
(พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)
ลำดับ
(สมัย) รูป รายนาม ครม.
คณะที่ เริ่มวาระ
(เริ่มต้นโดย) สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย) ที่มา
1
(1-3) ประธานคณะกรรมการราษฎร
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 : เลือกตั้งทั่วไป) (อดีตกรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7)
2 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 เมษายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา)
3 1 เมษายน พ.ศ. 2476
(พระราชกฤษฎีกา) 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหาร)
2
(1-5) พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 4 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(ลาออก) คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
5 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(ลาออก เนื่องจากสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
6 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(ลาออก เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
7 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(สภาครบวาระ)
8 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(ยุบสภา)[1]
3
(1,2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม) 9 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(ลาออก เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม) คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
10 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(ลาออก เนื่องจากส.ส.ไม่อนุมัติร่างพ.ร.บ.และพ.ร.ก.)
4
(1) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 11 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง) คณะราษฎร
5 นายทวี บุณยเกตุ 12 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน) -
6
(1) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 13 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(เสนอชื่อโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(ยุบสภา)
ขบวนการเสรีไทย
4
(2) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 14 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากแพ้มติสภาที่เสนอพ.ร.บ.ที่รัฐบาลรับไม่ได้) -
7
(1-3) ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 15 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
(ลาออกเพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489และให้เลือกตั้งทั่วไป)
ขบวนการเสรีไทย
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8)
16 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสรรณคตของรัชกาลที่ 8)
8
(1,2) พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 17 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(ลาออก เนื่องจากมีกระแสกดดันที่รุนแรง) พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
18 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร)
คณะทหารแห่งชาติ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
4
(3,4) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 19 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร) 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
พรรคประชาธิปัตย์
20 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง)
3
(3-8) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม) 21 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 : เลือกตั้งทั่วไป) -
22 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง)
23 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(รัฐประหาร) 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่)
24 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 : เลือกตั้งทั่วไป)
25 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(สภาครบวาระ)
26 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(รัฐประหาร) พรรคเสรีมนังคศิลา
คณะปฏิวัติ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 21 กันยายน พ.ศ. 2500
9 นายพจน์ สารสิน 27 21 กันยายน พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(ลาออก) -
10
(1) จอมพลถนอม กิตติขจร 28 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
(ลาออกและรัฐประหาร) -
11 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 29 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(ถึงแก่อสัญกรรม) (ผู้บัญชาการทหารบก)
10
(2-4) จอมพลถนอม กิตติขจร 30 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 : เลือกตั้งทั่วไป) (ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2507)
31 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(รัฐประหาร) -
สภาบริหารแห่งชาติ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 17 ธันวาคม พ.ศ. 2515
จอมพลถนอม กิตติขจร 32 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา) -
12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 33 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง) 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(ลาออก โดยอ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ) -
34 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 : เลือกตั้งทั่วไป)
6
(2) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 35 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(ไม่ได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส.ในการแถลงนโยบาย)
พรรคประชาธิปัตย์
13 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 36 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 20 เมษายน พ.ศ. 2519
(ยุบสภา)[2]
พรรคกิจสังคม
6
(3) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 37 20 เมษายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 กันยายน พ.ศ. 2519
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์จอมพลถนอมกลับมาอุปสมบท)
พรรคประชาธิปัตย์
38 25 กันยายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 39 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(รัฐประหาร) -
15
(1,2) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 40 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 : เลือกตั้งทั่วไป) -
41 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย) -
16
(1-3) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 42 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 30 เมษายน พ.ศ. 2526
(ยุบสภา)[3] (ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2524)
43 30 เมษายน พ.ศ. 2526
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(ยุบสภา)[4] -
44 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(ยุบสภา)[5]
17
(1,2) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 45 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(ลาออก)
พรรคชาติไทย
46 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(รัฐประหาร)
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 1 มีนาคม พ.ศ. 2534
18
(1) นายอานันท์ ปันยารชุน 47 2 มีนาคม พ.ศ. 2534
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดย รสช.) 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 : เลือกตั้งทั่วไป) -
19 พลเอก สุจินดา คราประยูร 48 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ) -
- นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 48 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่) (รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
18
(2) นายอานันท์ ปันยารชุน 49 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร) 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(ยุบสภา)[6] -
20
(1) นายชวน หลีกภัย 50 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(ยุบสภา)[7]
พรรคประชาธิปัตย์
21 นายบรรหาร ศิลปอาชา 51 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(ยุบสภา)[8]
พรรคชาติไทย
22 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 52 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
พรรคความหวังใหม่
20
(2) นายชวน หลีกภัย 53 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(ยุบสภา)[9]
พรรคประชาธิปัตย์
23
(1,2) พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร 54 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(สภาครบวาระ)
พรรคไทยรักไทย
55 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.) 19 กันยายน พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
24 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 56 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี ก่อนเข้ารับตำแหน่ง) 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 : เลือกตั้งทั่วไป) -
25 นายสมัคร สุนทรเวช 57 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)[10]
พรรคพลังประชาชน
26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 57 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 18 กันยายน พ.ศ. 2551
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่)
พรรคพลังประชาชน
58 18 กันยายน พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี)[11]
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 58 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่) (รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 59 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) ปัจจุบัน
พรรคประชาธิปัต

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย

ไทยรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง


ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ

หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
[แก้] อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

"กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร" โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า "ปฏิวัติ" แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า "กบฏ"
นับจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ - พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การ"ปฏิวัติ" และเป็น "กบฏ" มีดังนี้
( เรียงลำดับ ดังนี้>>>พ.ศ. >>เหตุการณ์>>> หัวหน้าก่อการ>>> รัฐบาล )
ครั้งที่ ๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เหตุกาณ์ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อรัฐบาลพ่ออยู่หัวพระปกเกล้าฯ (ร.๗)
ครั้งที่ ๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ เหตุการณ์รัฐประหาร >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา >>>ต่อรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ครั้งที่ ๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ กบฎบวรเดช >>>โดยคณะของพล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๔. ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ กบฎนายสิบ >>>โดยคณะของส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๕. ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ กบฎพระยาสุรเดช >>>โดยคณะของพ.อ.พระยาสุรเดช >>>ต่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
ครั้งที่ ๖. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ รัฐประหาร>>> โดยคณะของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ครั้งที่ ๗. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฎแบ่งแยกดินแดน >>>โดยคณะของส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๘. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของคณะนายทหารบก >>>ต่อรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์
ครั้งที่ ๙. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ กบฏเสนาธิการ >>>โดยคณะของพล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๐. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ กบฎวังหลวง >>>โดยคณะของนายปรีดี พนมยงค์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๑. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ กบฎแมนฮัตตัน >>>โดยคณะของน.อ.อานน บุณฑริกธาดา >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะจอมพล โดยคณะของป. พิบูลสงคราม >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๓. ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ กบฎสันติภาพ >>>โดยคณะของนายกุหราบ สายประสิทธิ์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๔. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่ ๑๕. ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๖. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของจอมพล ถนอม กิตติขจร >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๗. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม >>>โดย ประชาชน >>>ต่อรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
ครั้งที่ ๑๘. ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ครั้งที่ ๑๙. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ กบฎ ๒๖ มีนาคม >>>โดยคณะของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ครั้งที่ ๒๐. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ >>>ต่อรัฐบาลของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ครั้งที่ ๒๑. ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ กบฎ ๑ เมษายน >>>โดยคณะของพล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ครั้งที่ ๒๒. ปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน>>> โดยคณะของ พ.อ.มนูญ รูปขจร *>>> ต่อรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
(* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร )
ครั้งที่ ๒๓. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ รัฐประหาร >>>โดยคณะของพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ >>>ต่อรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ครั้งล่าสุด ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ รัฐประหาร ๑๙ กันยายน >>>โดยคณะของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน >>>ต่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่ม
คณะราษฏร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งคณะราษฏรได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ และคณะราษฏรก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระราชกำหนดนิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่ในการสั่งปราบปรามคณะราษฏรในข้อหากบฏก็คงจะทรงทำได้ เพราะทหารในส่วนหัวเมืองที่ยังจงรักภักดีกับพระองค์ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เนื่องจากพระองค์เองทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอภิรัฐมนตรีสภาทัดทานอยู่ พระองค์จึงต้องรอโอกาสอันสมควร แต่เมื่อคณะราษฏรได้ชิงลงมือก่อการปฏิวัติก่อนก็สอดคล้องกับพระราชดำริ
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีประเด็นที่น่าศึกษาดังนี้
1.จุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ของคณะราษฏร คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยยึดถืออุดมการณ์ 6 ประการ คือ
- จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
- จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
- จะบำรุงความสุขสบายสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ
- จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสมอกัน
- จะต้องให้ราษฏรมีเสรีภาพ โดยไม่ขัดกับหลัก 4 ประการข้างต้น
- จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฏรอย่างเต็มที่
2. สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากประเทศตะวันตก กลายเป็นผู้นำสมัยใหม่ และรับแนวคิดแบบประชาธิปไตยมาเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
- จิตสำนึกของคนรุ่นใหม่และอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีลักษณะก้าวหน้าในสมัยนั้น ในช่วง เวลาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตยได้มีความตื่นตัว และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนต่างๆ ก็พากันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเขียนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแพร่หลาย
- ฐานะทางการคลังของประเทศและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 การคลังของประเทศเริ่มตกต่ำลงในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเกิดตกต่ำลง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพยายามตัดทอนรายจ่ายทุกประเภทให้เหลือเท่าที่จำเป็น มีการปรับปรุงระบบภาษีให้รัดกุม เพื่อจะได้เก็บภาษีให้มากขึ้น และใช้วิธีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาลให้น้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจทั่วโลกก็กำลังตกต่ำลง จึงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจนรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้บรรลุผลได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏรใน พ.ศ.2475
3. องค์ประกอบคณะราษฏร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนจำนวน 99 คน โดยมีบุคคลสำคัญดังนี้
- พ.อ.พระยาพลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร
- พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
- พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
- พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
- พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
- พ.ต.หลวงทัศนัยนิยมศึก
- น.ต.หลวงสิทธุ์สงครามชัย
- น.ต.หลวงศุภชลาศัย
- หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์) หัวหน้าฝ่ายพลเรือน
- นายจรูญ สืบแสง
- นายควง อภัยวงศ์
4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
- คณะราษฏรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้เปิดสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" - สาระสำคัญของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว กำหนดไว้ว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนมาเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงตำแหน่งบริหารที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการคณะราษฏร คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราฏษรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศ ซึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฏรให้เป็นประธานคณะกรรมการคณะราษฏร
5.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
- หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับเป็นหลักการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็น นายกรัฐมนตรี ทางด้านคณะราษฏรได้ส่งบุคคลระดับหัวหน้าฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมรัฐบาล โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้คุมเสียงข้างมากอยู่ในคณะรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงเรียกได้ว่าเป็น "รัฐบาลของคณะราษฏร"ซึ่งเป็นสมาคมการเมืองเดียวในขณะนั้น

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหาร มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ
ร.อ.
ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์)เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสามเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

การปฏิรูปการปกครองสมมัยรัชกาลที่5

การปฏิรูปการปกครองสมมัยรัชกาลที่5
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
- การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง "เสนาบดีสภา"และจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหม, นครบาล, วัง, เกษตรพานิชการ, พระคลัง, การต่างประเทศ, ยุทธนาธิการ, โยธาธิการ, ธรรมการ, ยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ
- การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า "มณฑล"โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้
- การปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล
- การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
- การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ "สุขาภิบาล"ในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น
ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
- ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
- รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล
- ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก โดยมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ






ประวัติการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์





ประวัติการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้
เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี
- พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง

- ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ
- ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้
- กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย

เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์บริเวณ เมืองหลวงใหม่ เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ - บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง
- บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง
- บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
- สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

- สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
- เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
-กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
-กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
-กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ
-กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว
- การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง
- หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้

-หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ "ผู้รั้ง"เป็นผู้ปกครอง
-หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ
- หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น
- หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทยเป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า

การปกครองประเทศราช
- ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม - ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล- กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่า
กฏหมายตราสามดวง
- กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล