วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยอยุธยา

ประวัติการปกครองสมัยอยุธยา


การปกครองสมัยอยุธยาแบ่งได้เป็น3ระยะตามลักษณะการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น



การปกครองนี้เริ่มเมื่อ(พ.ศ.1893-1991)สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 แบ่งการปกครองได้2ส่วน
ส่วนที่1 การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชะนีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง(ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลในเขตพระราชสำนักและพิจารณาคดี)กรมคลัง(ดูแลพระราชทัรพย์) กรมนา(จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ
ส่วนที่2 การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น4ระดับคือ
1.เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยุ่รอบราชธานีมี4ทิศเช่นลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงส์ชั้นสูงไปปกครอง
2.หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไปได้แก่พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราชให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง

3.หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
4.เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่น สุโขทัย เขมรเป็นต้น


การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง (1991-2231)




ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางการเมือง โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้2ช่วง
ช่วงที่1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางส่วนกลางออกเป็น2ฝ่ายคือ ทหารและพลเรือน ทหารมีสมุหกลาโหม ส่วนพลเรือนมีสมุหนายกดูแล
สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมัหนายก ดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งราชธานีและหัวเมือง
สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหารทั้งในราชธานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมย์ภายใต้การดูแลของสมุหนายก อัครมหาเสนาบดีปรับเปลี่ยนชื่อเป้น ออกญาโกษาธิบดี

การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น3ส่วน
หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ส่งขุนนางไปปกครองเรียก ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราชเป็ฯเมืองชั้นเอก โท และตรี
เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศารี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
ช่วงที่2 ตรงกับสมัยพระเทพราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุนายกดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ให้สมุหกลาโหมดูแล และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหมดูแล



การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย(2231-2310)


พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้โกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้แทนสมุหกลาโหม ส่วนสมุหนายกยังคงเมหือนเดิม การปัรบปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศุนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจระหว่างเจ้านายและขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง


สรุป

การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ พยายามรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และควบคุมการปกครองของหัวเมืองต่างๆให้มีประสทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครองเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา




แบบทดสอบหลังเรียน


น.ส.พัชณี ลัดดาวงศ์ ม.4/3 เลขที่ 34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น