orn(pn24)
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็
นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ถ้ากฎหมาย ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เมื่อกล่าวถึงรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชนรัฐธรรมนูญเป็
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน
หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ
1. ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนเพิ่มสิทธิและเสรีภาพใหม่ ให้แก่ประชาชน
2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเสนอกฎหมายได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ และสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ตรวจสอบ และถ่วงดุลการใช้อำนาจ
สิทธิและเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการ ถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรองรับ เสรีภาพก็อาจกลายเป็นสิทธิได้ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า สิทธิและเสรีภาพ
หน้าที่ (Obligation) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ เมื่อมีสิทธิแล้วจะมีหน้าที่ควบคู่ไปด้วยเสมอ
สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทย
1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ห้ามทรมาน ทารุนกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
2. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว รัฐธรรมนูญห้ามกล่าวหรือเผยแพร่ข้อความ หรือภาพไปสู่สาธารชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น แอบถ่ายภาพผู้อื่นขณะอยู่ในบ้านแล้วนำไปพิมพ์จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เสรีภาพในเคหสถาน บ้านเป็นสถานที่อยู่อาศัยสามารถอยู่อย่างสงบสุข ปราศจากสิ่งใด ๆ มารบกวน แม้แต่อำนาจของรัฐ ผู้อื่นจะเข้าไปภายในบ้านโดยผู้อาศัยในบ้านไม่ยินยอมไม่ได้
4. เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ ประชาชนมีสิทธิเดินทางไปที่ใด หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรก็ได้ และจะเนรเทศผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้ อย่างไรก็ดีอาจออกกฎหมายเฉพาะจำกัดเสรีภาพนี้
5. เสรีภาพในการสื่อสาร รัฐธรรมนูญคุ้มครองการติดต่อสื่อสารถึงกันโดยที่คนอื่นไม่อาจล่วงรู้ข้อความได้ ดังนั้นจึงห้ามตรวจ กัก เปิดเผยสิ่งสื่อสารที่มีผู้ติดต่อถึงกันหรือทำวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้รู้ข้อความ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ่านจดหมายที่ประชาชนส่งถึงกันหรือดักฟังโทรศัพท์ไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะอนุญาตให้ทำได้
6. เสรีภาพในการถือศาสนา พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ แม้เป็นเพียงนิกาย หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
7. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน รัฐธรรมนูญห้ามเกณฑ์แรงงานประชาชนไปขุดคลองหรือก่อสร้าง เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจไว้ เช่น ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน หรือประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการพูด หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
9. เสรีภาพในทางวิชาการ รัฐธรรมนูญส่งเสริมทางทำงานวิชาการโดยคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองดีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
10. เสรีภาพในการชุมชน การชุมนุมที่กระทำได้ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
11. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ประชาชนสามารถรวมกลุ่มกันได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการเช่น รวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชนหรือหมู่คณะอื่น ๆ
12. เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง การรวมกลุ่มของประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกัน อาจออกมาในรูปของการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและดำเนินกิจการทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น
13. สิทธิต่อต้านการยึดอำนาจ การธำรงรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย อาจต้องใช้วิธีต่อต้านการยึดอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ เช่น การใช้กำลังปฏิวัติรัฐประหาร รัฐธรรมนูญกำหนดว่าการต่อต้านต้องทำโดยสันติวิธี
14. สิทธิในทรัพย์สิน มนุษย์จำเป็นต้องหาทรัพย์สินเงินทอง และเก็บไว้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตน หากทรัพย์ที่อุตส่าห์หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องถูกผู้อื่นฉกฉวยเอาไป ย่อมไม่เป็นธรรมต่อเขา รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน และการตกทอดของทรัพย์สินไปยังทายาท
15. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ บุคคลสามารถประกอบกิจการ หรือประกอบอาชีพใดก็ได้โดยมีกติกาคือให้แข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดหากมีกฎหมายเฉพาะให้ทำได้ เช่น ไปประกอบอาชีพที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศเป็นต้น
16. สิทธิในการได้รับการศึกษา ประชาชนมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐบาลต้องจัดให้มีโรงเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการศึกษาต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนมีส่วนร่วมด้วย
17. สิทธิที่จะได้รับบริการทางสาธารณสุข ประชาชนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การบริการสาธารณสุขของรัฐต้องทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คนยากจนมีสิทธิได้รับบริการรักษาพยาบาลจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
18. สิทธิในการมีส่วนร่วมคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การดูแลสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลจำต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน รัฐธรรมนูญให้โอกาสประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
19. สิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้บริโภค หรือใช้สินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้า รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค รวมทั้งให้สร้างองค์กรอิสระที่เป็นตัวแทนผู้บริโภค
20. สิทธิในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การที่ประชาชนจะติดตาม ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างได้ผลนั้นประชาชนต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสารธรณชนและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
21. สิทธิเกี่ยวกับการกระทำทางการปกครอง ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การออกคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้บุคคลนั้นมีสิทธิ มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อมีการปฏิบัติราชการทางปกครอง มีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ
สิทธิและเสรีภาพสำหรับบุคคลบางจำพวก
นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนแล้ว รัฐธรรมนูญยังคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มคนบางจำพวก ดังต่อไปนี้
1. สื่อมวลชน
รัฐธรรมนูญป้องกันการริดรอนเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชน จึงห้ามสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ และห้ามการเซ็นเซอร์ข่าว หรือการส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก่อนเผยแพร่เว้นแต่กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบและต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย
พนักงานหรือลูกจ้างในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ทั้งภาครัฐและเอกชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดกับจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญถือว่า “คลื่นความถี่” ที่ใช้ในการส่งวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงกำหนดให้มีองค์กรอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์โทรคมนาคม
2. เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว
รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ให้พ้นจากการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เช่น การที่สามีใช้กำลังทุบทำร้ายภรรยาและบุตร หรือบิดามารดาล่ามโซ่บุตรที่วิกลจริต
สำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาจากรัฐ
3. บุคคลสูงอายุ
บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
4. ผู้พิการ
คนพิการ หรือทุพพลภาพ ถือเป็นผู้ด้อยโอกาสรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การของรัฐ มีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ถูกจำกัดโดยกฎหมายเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ
6. บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา
บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญามีทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย ผู้ต้องหาที่ถูกนำตัวฟ้องศาลแล้ว พยานที่ไปให้การต่อศาลและถู กคุมขัง
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
มาตรา ๗ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สำนักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัด หรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๘* การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็น พระราชบัญญัติ
การจัดตั้งทบวงโดยให้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ให้ระบุการสังกัด ไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
การจัดตั้งกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้ระบุการไม่สังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
*[มาตรา ๘ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓]
มาตรา ๘ ทวิ* การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ไม่ว่าจะมีผล เป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการ หรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอน อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอน ข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ ตรี* การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตำแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการเปลี่ยนชื่อ ไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ท้องถิ่นอื่น ประกาศ หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ท้องถิ่นอื่น ประกาศหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้เปลี่ยนชื่อนั้น
มาตรา ๘ จัตวา* การยุบส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่าย ที่เหลืออยู่ของส่วนราชการนั้นเป็นอันระงับไป สำหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอน ให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราช กฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี สำหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุยุบตำแหน่ง อันเนื่อง มาแต่การยุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายหรือ ระเบียบข้อบังคับอื่นแล้ว ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอน ข้าราชการหรือลูกจ้างตามวรรคสามก็ให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ได้พ้นจากราชการตามวรรคสาม แต่ทั้งนี้ต้องกระทำภายในสามสิบวันนับแต่พระราชกฤษฎีกา ตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ เบญจ* พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๘ ทวิ หรือมาตรา ๘ จัตวา ที่มีผล เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้งส่วนราชการ กฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ระบุให้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาว่าบทบัญญัติใดถูกแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกเป็นประการใดในกฎหมายนั้น
มาตรา ๘ ฉ* การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการดังกล่าว กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
*[มาตรา ๘ ฉ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕]
มาตรา ๘ สัตต* ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนัก งบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกำหนด อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการตามมาตรา ๘ ฉ ในการเสนอความเห็นดังกล่าวให้สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดอัตรากำลัง และสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณ ให้สอดคล้องเสนอไปในคราวเดียวกัน
มาตรา ๘ อัฏฐ* การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวง มหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
*[มาตรา ๘ ทวิ มาตรา ๘ ตรี มาตรา ๘ จัตวา มาตรา ๘ เบญจ มาตรา ๘ ฉ มาตรา ๘ สัตต และมาตรา ๘ อัฎฐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓]
มาตรา ๗ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สำนักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัด หรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๘* การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็น พระราชบัญญัติ
การจัดตั้งทบวงโดยให้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ให้ระบุการสังกัด ไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
การจัดตั้งกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้ระบุการไม่สังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
*[มาตรา ๘ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓]
มาตรา ๘ ทวิ* การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ไม่ว่าจะมีผล เป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการ หรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอน อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอน ข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ ตรี* การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตำแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการเปลี่ยนชื่อ ไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ท้องถิ่นอื่น ประกาศ หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ท้องถิ่นอื่น ประกาศหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้เปลี่ยนชื่อนั้น
มาตรา ๘ จัตวา* การยุบส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่าย ที่เหลืออยู่ของส่วนราชการนั้นเป็นอันระงับไป สำหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอน ให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราช กฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี สำหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุยุบตำแหน่ง อันเนื่อง มาแต่การยุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายหรือ ระเบียบข้อบังคับอื่นแล้ว ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอน ข้าราชการหรือลูกจ้างตามวรรคสามก็ให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้น ได้พ้นจากราชการตามวรรคสาม แต่ทั้งนี้ต้องกระทำภายในสามสิบวันนับแต่พระราชกฤษฎีกา ตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ เบญจ* พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๘ ทวิ หรือมาตรา ๘ จัตวา ที่มีผล เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้งส่วนราชการ กฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ระบุให้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาว่าบทบัญญัติใดถูกแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกเป็นประการใดในกฎหมายนั้น
มาตรา ๘ ฉ* การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการดังกล่าว กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
*[มาตรา ๘ ฉ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕]
มาตรา ๘ สัตต* ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนัก งบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกำหนด อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการตามมาตรา ๘ ฉ ในการเสนอความเห็นดังกล่าวให้สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดอัตรากำลัง และสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณ ให้สอดคล้องเสนอไปในคราวเดียวกัน
มาตรา ๘ อัฏฐ* การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวง มหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
*[มาตรา ๘ ทวิ มาตรา ๘ ตรี มาตรา ๘ จัตวา มาตรา ๘ เบญจ มาตรา ๘ ฉ มาตรา ๘ สัตต และมาตรา ๘ อัฎฐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓]
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
มาตรา ๕๑ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้
(๑) จังหวัด
(๒) อำเภอ
-จังหวัด
มาตรา ๕๒ ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการ จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด ซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจาก กระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือ ทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและ เลขานุการ
ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกรมต่าง ๆ ในกระทรวงหรือทบวงนั้นส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือ ปลัดทบวงกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนของกระทรวงหรือ ทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะ แต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือ หลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
มาตรา ๕๔ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับ นโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดา ข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการรองจากผู้ว่าราชการ จังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด สังกัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๕๕ ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าว ในมาตรา ๕๔ ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ ฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่า ราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการ แทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ ปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษา ราชการแทน
มาตรา ๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือ ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของ คณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของ ข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการ ฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและ ข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนา จังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
(๖) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนา จังหวัด และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
(๗) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
(๘) กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด ตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย
มาตรา ๕๘ การยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่ ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทำได้โดยตราเป็น พระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๙ ให้นำความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๐ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
(๑) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนา จังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับ บัญชารับผิดชอบ
- อำเภอ
มาตรา ๖๑ ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่า อำเภอ
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖๒ ในอำเภอหนึ่ง มีนายอำเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือ นายอำเภอซึ่งกฎหมายกำหนดให้กรมการอำเภอและนายอำเภอมีอยู่ ให้โอนไปเป็นอำนาจและ หน้าที่ของนายอำเภอ
มาตรา ๖๓ ในอำเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชาและรับผิดชอบดังกล่าวในมาตรา ๖๒ ให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการ ประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ นายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในอำเภอนั้น
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโส ตามระเบียบแบบแผน ของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายอำเภอ แต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของ ทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน ไว้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตาม ระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๖๕ นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็น หน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและ ผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย
มาตรา ๖๖ ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอดังนี้
(๑) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา ๖๗ ให้นำความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๘ การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๖๙ ท้องถิ่นใดที่เห็นสมควรจัดให้ราษฎรมีส่วนในการปกครอง ท้องถิ่นให้จัดระเบียบการปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) เทศบาล
(๓) สุขาภิบาล
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
มาตรา ๗๑ การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น
ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบัย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง
กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่ง
1. ความสามารถของผู้เยาว์
1.1 ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ความเป็นผู้เยาว์จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
1.2 การพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ มี 2 กรณี คือ
( 1 ) เมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
( 2 ) เมื่อจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย โดยทั้งชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์และได้รับความยินยอมาจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ทำการสมรสได้
1.3 ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บุคคลที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์ หรือมีอำนาจให้ความยินยอมให้การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ โดยทั่วไปจะเป็นบิดามารดา
1.4 สิทธิของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม มี 2 ลักษณะ คือ
( 1 ) การทำนิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์ทำได้ตามลำพัง เช่น ผู้เยาว์ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ สามารถทำพินัยกรรมและจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้
( 2 ) การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น การทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ทำสัญญาซื้อรถยนต์ ทำสัญญากู้เงิน การโอนทรัพย์สิน ฯลฯ
2. การกู้ยืมเงิน
2.1 การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาทขึ้นไป ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงินไว้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ หรือทำสัญญากู้เงินตามแบบฟอร์มก็ได้
2.2 การชำระหนี้เงินกู้ ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานโดยมีข้อความว่าเจ้าหนี้ ( ผู้ให้กู้ ) ได้รับเงินชำระหนี้เงินกู้จากลูกหนี้ ( ผู้กู้ ) ตามจำนวนที่กู้ ( พร้อมทั้งดอกเบี้ย ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย หรืออาจใช้วิธีเวนคืนเอกสารสัญญากู้เงินหรือหลักฐานการกู้เงินให้แก่ผู้กู้ก็ได้
2.3 การคิดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมเงิน ตามกฎหมายให้คิดได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่านี้จะมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้ไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่จะได้คืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
3. ซื้อขาย
3.1 ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้ มี 2 ประเภท ดังนี้
( 1 ) อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินและทรัพย์ที่อยู่ติดกับที่ดินอย่างถาวร เช่น บ้านเรือน โรงงาน ต้นไม้ยืมต้น และสิทธิจำนอง เป็นต้น
( 2 ) สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เก้าอี้ แหวนและสร้อยคอทองคำ โทรทัศน์ รถยนต์ ช้าง ม้า และสิทธิในการจำนำ เป็นต้น
3.2 การทำสัญญาซื้อขาย การซื้อขายทรัพย์ต่อไปนี้ จะต้องทำเป็นหนังสือซื้อขายและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ หมายถึงเสียเปล่าไม่เกิดผลใดๆ ได้แก่
( 1 ) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือกลไฟ เรือกำปั่น เรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ ฯลฯ
4. เช่าทรัพย์
4.1 เช่าสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า เช่น เช่าเรือกำปั่น เรือกลไฟ และเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป ฯลฯ
4.2 เช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า เช่น เช่าบ้าน ที่ดิน ฯลฯ แต่ถ้าเช่าเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานอีกด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
5. เช่าซื้อ
5.1 ลักษณะของการเช่าซื้อ เป็นสัญญาที่เจ้าของนำทรัพย์สินของตนออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เข้า หลังจากที่ผู้เช้าได้จ่ายเงินครบตามข้อตกลงแล้ว ( จะผ่อนชำระเป็นงวดๆ ภายในเวลาที่กำหนด )
5.2 ทรัพย์สินทุกประเภทเช่าซื้อได้ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ โทรทัศน์ ฯลฯ
5.3 การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญา มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ และเมื่อผ่อนชำระจนครบแล้ว กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้เช่าซื้อได้ต้องไปจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงาน
กฎหมายอาญา
6. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือต่อประชาชนส่วนมาก เช่น ปล้นจี้ ข่มขืน ค้ายาเสพติด ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฯลฯ ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญามีดังนี้
6.1 เป็นกฎหมายมหาชน
6.2 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด และกำหนดบทลงโทษไว้
6.3 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
6.4 เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายในอาณาเขตของรัฐนั้น
7. ความรับผิดในทางอาญา
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อกระทำความผิด 3 ลักษณะ ดังนี้
7.1 กระทำโดยเจตนา เช่น เด็กวัยรุ่นยกพวกตีกันและใช้มีดแทงคู่กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัส
7.2 กระทำโดยไม่เจตนา เช่น นักเลงอันธพาลใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในบ้านผู้อื่นหวังจะข่มขู่แต่ไปถูกศีรษะคนในบ้านได้รับบาดเจ็บ
7.3 กระทำโดยประมาท เช่น ขับรถขนคนตาย พ่อค้าทำหม้อน้ำเดือดหกใส่ลูกค้าในร้านได้รับบาดเจ็บสาหัส ฯลฯ
8. โทษทางอาญา ความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำได้ ดังนี้
8.1 ประหารชีวิต
8.2 จำคุก
8.3 กักขัง
8.4 ปรับ
8.5 ริบทรัพย์สิน
9. การกระทำความผิดทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญามี ดังนี้
9.1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เช่น ก่อกบฏแบ่งแยกดินแดน ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ทำลายธงชาติ ฯลฯ
9.2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง เช่น ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แจ้งความเท็จ ฯลฯ
9.3 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน เช่น รวมตัวเป็นอั้งยี่หรือช่องโจร ฯลฯ
9.4 ความผิดที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อประชาชน เช่น ลอบวางเพลิง กีดขวางทางรถไฟให้เกิดอันตรายแก่การเดินรถ ปลอมปนอาหารจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ฯลฯ
9.5 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ รับของโจร ฯลฯ
9.6 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฆ่าผู้อื่นทอดทิ้งเด็กทารก ฯลฯ
9.7 ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น กระทำอนาจาร ข่มขืน ฯลฯ
9.8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า เช่น ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น หลอกลวงขายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำสินค้าปลอมหรือเลียนแบบ โกงตราชั่ง ฯลฯ
9.9 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง เช่น ปลอมธนบัตร เหรียญกษาปณ์ แสตมป์ พินัยกรรมและเอกสารของทางราชการต่างๆ ฯลฯ
9.10 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา เช่น แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หรือนักบวชในศาสนาอื่นๆ หรือการกระทำการดูหมิ่นเหยียดหยามวัตถุหรือศาสนาสถานอันเป็นที่เคารพของศาสนาต่างๆ
10. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้
10.1 ลักทรัพย์ คือ การนำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม และไม่รู้ตัว
10.2 วิ่งราวทรัพย์ คือ การฉกฉวยเอาทรัพย์สินของเจ้าของไปซึ่งหน้า หรือต่อหน้าเจ้าของ
10.3 ชิงทรัพย์ คือ บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
10.4 ปล้นทรัพย์ คือ คนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมมือกันชิงทรัพย์จากผู้อื่นไป โดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
11. การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนประมวลกฎหมายอาญาได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน 4 ระดับอายุ ดังนี้
11.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษใดๆ เช่น ลักขโมยทรัพย์หรือทำปืนลั่นถูกเพื่อนเสียชีวิต เป็นต้น
11.2 เด็กอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลจะใช้วิธีการของศาล เช่น ว่ากล่าวตักเตือน หรือวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองควบคุมเด็กมิให้ก่อเหตุขึ้นอีก
11.3 เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมายให้ศาลวินิจฉัยว่าจะใช้วิธีเหมือนในข้อ 11.2 หรือส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก หรือพิพากษา ลงโทษตามกฎหมาย แต่ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง
11.4 เยาวชนอายุเกินกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมาย ให้ศาลพิพากษาโดยลดโทษลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งของโทษก็ได้
1. ความสามารถของผู้เยาว์
1.1 ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ความเป็นผู้เยาว์จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
1.2 การพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ มี 2 กรณี คือ
( 1 ) เมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
( 2 ) เมื่อจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย โดยทั้งชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์และได้รับความยินยอมาจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ทำการสมรสได้
1.3 ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บุคคลที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์ หรือมีอำนาจให้ความยินยอมให้การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ โดยทั่วไปจะเป็นบิดามารดา
1.4 สิทธิของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม มี 2 ลักษณะ คือ
( 1 ) การทำนิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์ทำได้ตามลำพัง เช่น ผู้เยาว์ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ สามารถทำพินัยกรรมและจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้
( 2 ) การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น การทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ทำสัญญาซื้อรถยนต์ ทำสัญญากู้เงิน การโอนทรัพย์สิน ฯลฯ
2. การกู้ยืมเงิน
2.1 การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาทขึ้นไป ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงินไว้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ หรือทำสัญญากู้เงินตามแบบฟอร์มก็ได้
2.2 การชำระหนี้เงินกู้ ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานโดยมีข้อความว่าเจ้าหนี้ ( ผู้ให้กู้ ) ได้รับเงินชำระหนี้เงินกู้จากลูกหนี้ ( ผู้กู้ ) ตามจำนวนที่กู้ ( พร้อมทั้งดอกเบี้ย ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย หรืออาจใช้วิธีเวนคืนเอกสารสัญญากู้เงินหรือหลักฐานการกู้เงินให้แก่ผู้กู้ก็ได้
2.3 การคิดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมเงิน ตามกฎหมายให้คิดได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่านี้จะมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้ไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่จะได้คืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
3. ซื้อขาย
3.1 ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้ มี 2 ประเภท ดังนี้
( 1 ) อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินและทรัพย์ที่อยู่ติดกับที่ดินอย่างถาวร เช่น บ้านเรือน โรงงาน ต้นไม้ยืมต้น และสิทธิจำนอง เป็นต้น
( 2 ) สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เก้าอี้ แหวนและสร้อยคอทองคำ โทรทัศน์ รถยนต์ ช้าง ม้า และสิทธิในการจำนำ เป็นต้น
3.2 การทำสัญญาซื้อขาย การซื้อขายทรัพย์ต่อไปนี้ จะต้องทำเป็นหนังสือซื้อขายและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ หมายถึงเสียเปล่าไม่เกิดผลใดๆ ได้แก่
( 1 ) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือกลไฟ เรือกำปั่น เรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ ฯลฯ
4. เช่าทรัพย์
4.1 เช่าสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า เช่น เช่าเรือกำปั่น เรือกลไฟ และเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป ฯลฯ
4.2 เช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า เช่น เช่าบ้าน ที่ดิน ฯลฯ แต่ถ้าเช่าเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานอีกด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
5. เช่าซื้อ
5.1 ลักษณะของการเช่าซื้อ เป็นสัญญาที่เจ้าของนำทรัพย์สินของตนออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เข้า หลังจากที่ผู้เช้าได้จ่ายเงินครบตามข้อตกลงแล้ว ( จะผ่อนชำระเป็นงวดๆ ภายในเวลาที่กำหนด )
5.2 ทรัพย์สินทุกประเภทเช่าซื้อได้ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ โทรทัศน์ ฯลฯ
5.3 การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญา มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ และเมื่อผ่อนชำระจนครบแล้ว กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้เช่าซื้อได้ต้องไปจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงาน
กฎหมายอาญา
6. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือต่อประชาชนส่วนมาก เช่น ปล้นจี้ ข่มขืน ค้ายาเสพติด ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฯลฯ ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญามีดังนี้
6.1 เป็นกฎหมายมหาชน
6.2 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด และกำหนดบทลงโทษไว้
6.3 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
6.4 เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายในอาณาเขตของรัฐนั้น
7. ความรับผิดในทางอาญา
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อกระทำความผิด 3 ลักษณะ ดังนี้
7.1 กระทำโดยเจตนา เช่น เด็กวัยรุ่นยกพวกตีกันและใช้มีดแทงคู่กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัส
7.2 กระทำโดยไม่เจตนา เช่น นักเลงอันธพาลใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในบ้านผู้อื่นหวังจะข่มขู่แต่ไปถูกศีรษะคนในบ้านได้รับบาดเจ็บ
7.3 กระทำโดยประมาท เช่น ขับรถขนคนตาย พ่อค้าทำหม้อน้ำเดือดหกใส่ลูกค้าในร้านได้รับบาดเจ็บสาหัส ฯลฯ
8. โทษทางอาญา ความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำได้ ดังนี้
8.1 ประหารชีวิต
8.2 จำคุก
8.3 กักขัง
8.4 ปรับ
8.5 ริบทรัพย์สิน
9. การกระทำความผิดทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญามี ดังนี้
9.1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เช่น ก่อกบฏแบ่งแยกดินแดน ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ทำลายธงชาติ ฯลฯ
9.2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง เช่น ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แจ้งความเท็จ ฯลฯ
9.3 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน เช่น รวมตัวเป็นอั้งยี่หรือช่องโจร ฯลฯ
9.4 ความผิดที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อประชาชน เช่น ลอบวางเพลิง กีดขวางทางรถไฟให้เกิดอันตรายแก่การเดินรถ ปลอมปนอาหารจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ฯลฯ
9.5 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ รับของโจร ฯลฯ
9.6 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฆ่าผู้อื่นทอดทิ้งเด็กทารก ฯลฯ
9.7 ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น กระทำอนาจาร ข่มขืน ฯลฯ
9.8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า เช่น ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น หลอกลวงขายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำสินค้าปลอมหรือเลียนแบบ โกงตราชั่ง ฯลฯ
9.9 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง เช่น ปลอมธนบัตร เหรียญกษาปณ์ แสตมป์ พินัยกรรมและเอกสารของทางราชการต่างๆ ฯลฯ
9.10 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา เช่น แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หรือนักบวชในศาสนาอื่นๆ หรือการกระทำการดูหมิ่นเหยียดหยามวัตถุหรือศาสนาสถานอันเป็นที่เคารพของศาสนาต่างๆ
10. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้
10.1 ลักทรัพย์ คือ การนำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม และไม่รู้ตัว
10.2 วิ่งราวทรัพย์ คือ การฉกฉวยเอาทรัพย์สินของเจ้าของไปซึ่งหน้า หรือต่อหน้าเจ้าของ
10.3 ชิงทรัพย์ คือ บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
10.4 ปล้นทรัพย์ คือ คนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมมือกันชิงทรัพย์จากผู้อื่นไป โดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
11. การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนประมวลกฎหมายอาญาได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน 4 ระดับอายุ ดังนี้
11.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษใดๆ เช่น ลักขโมยทรัพย์หรือทำปืนลั่นถูกเพื่อนเสียชีวิต เป็นต้น
11.2 เด็กอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลจะใช้วิธีการของศาล เช่น ว่ากล่าวตักเตือน หรือวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองควบคุมเด็กมิให้ก่อเหตุขึ้นอีก
11.3 เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมายให้ศาลวินิจฉัยว่าจะใช้วิธีเหมือนในข้อ 11.2 หรือส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก หรือพิพากษา ลงโทษตามกฎหมาย แต่ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง
11.4 เยาวชนอายุเกินกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมาย ให้ศาลพิพากษาโดยลดโทษลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งของโทษก็ได้
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
2. การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี
2. กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
3. ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
4. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. เทศบาล
3. สุขาภิบาล
4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
1. สภาจังหวัด
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
1. การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
2. การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
2. การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี
2. กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
3. ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
4. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. เทศบาล
3. สุขาภิบาล
4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
1. สภาจังหวัด
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
1. การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
2. การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์ศาลยุติธรรม
ด • พ • กระบบศาลในประเทศไทย
ศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง · ศาลอาญา · ศาลจังหวัด · ศาลแขวง · ศาลเยาวชนและครอบครัว · ศาลแรงงาน · ศาลภาษีอากรกลาง · ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ · ศาลล้มละลายกลาง) · ศาลอุทธรณ์ · ศาลฎีกา (แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)
ศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้น · ศาลปกครองสูงสุด
ศาลรัฐธรรมนูญ (คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
ศาลทหาร ศาลทหารในเวลาปกติ · ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ · ศาลอาญาศึก
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์ศาลยุติธรรม
ด • พ • กระบบศาลในประเทศไทย
ศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง · ศาลอาญา · ศาลจังหวัด · ศาลแขวง · ศาลเยาวชนและครอบครัว · ศาลแรงงาน · ศาลภาษีอากรกลาง · ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ · ศาลล้มละลายกลาง) · ศาลอุทธรณ์ · ศาลฎีกา (แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)
ศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้น · ศาลปกครองสูงสุด
ศาลรัฐธรรมนูญ (คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
ศาลทหาร ศาลทหารในเวลาปกติ · ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ · ศาลอาญาศึก
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
รายนามนายกรัฐมนตรีไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร
รักษาการนายกรัฐมนตรี (ผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี)
รัฐประหาร
นายกรัฐมนตรีไทย
(พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)
ลำดับ
(สมัย) รูป รายนาม ครม.
คณะที่ เริ่มวาระ
(เริ่มต้นโดย) สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย) ที่มา
1
(1-3) ประธานคณะกรรมการราษฎร
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 : เลือกตั้งทั่วไป) (อดีตกรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7)
2 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 เมษายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา)
3 1 เมษายน พ.ศ. 2476
(พระราชกฤษฎีกา) 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหาร)
2
(1-5) พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 4 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(ลาออก) คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
5 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(ลาออก เนื่องจากสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
6 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(ลาออก เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
7 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(สภาครบวาระ)
8 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(ยุบสภา)[1]
3
(1,2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม) 9 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(ลาออก เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม) คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
10 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(ลาออก เนื่องจากส.ส.ไม่อนุมัติร่างพ.ร.บ.และพ.ร.ก.)
4
(1) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 11 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง) คณะราษฎร
5 นายทวี บุณยเกตุ 12 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน) -
6
(1) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 13 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(เสนอชื่อโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(ยุบสภา)
ขบวนการเสรีไทย
4
(2) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 14 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากแพ้มติสภาที่เสนอพ.ร.บ.ที่รัฐบาลรับไม่ได้) -
7
(1-3) ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 15 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
(ลาออกเพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489และให้เลือกตั้งทั่วไป)
ขบวนการเสรีไทย
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8)
16 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสรรณคตของรัชกาลที่ 8)
8
(1,2) พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 17 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(ลาออก เนื่องจากมีกระแสกดดันที่รุนแรง) พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
18 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร)
คณะทหารแห่งชาติ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
4
(3,4) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 19 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร) 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
พรรคประชาธิปัตย์
20 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง)
3
(3-8) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม) 21 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 : เลือกตั้งทั่วไป) -
22 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง)
23 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(รัฐประหาร) 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่)
24 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 : เลือกตั้งทั่วไป)
25 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(สภาครบวาระ)
26 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(รัฐประหาร) พรรคเสรีมนังคศิลา
คณะปฏิวัติ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 21 กันยายน พ.ศ. 2500
9 นายพจน์ สารสิน 27 21 กันยายน พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(ลาออก) -
10
(1) จอมพลถนอม กิตติขจร 28 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
(ลาออกและรัฐประหาร) -
11 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 29 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(ถึงแก่อสัญกรรม) (ผู้บัญชาการทหารบก)
10
(2-4) จอมพลถนอม กิตติขจร 30 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 : เลือกตั้งทั่วไป) (ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2507)
31 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(รัฐประหาร) -
สภาบริหารแห่งชาติ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 17 ธันวาคม พ.ศ. 2515
จอมพลถนอม กิตติขจร 32 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา) -
12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 33 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง) 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(ลาออก โดยอ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ) -
34 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 : เลือกตั้งทั่วไป)
6
(2) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 35 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(ไม่ได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส.ในการแถลงนโยบาย)
พรรคประชาธิปัตย์
13 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 36 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 20 เมษายน พ.ศ. 2519
(ยุบสภา)[2]
พรรคกิจสังคม
6
(3) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 37 20 เมษายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 กันยายน พ.ศ. 2519
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์จอมพลถนอมกลับมาอุปสมบท)
พรรคประชาธิปัตย์
38 25 กันยายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 39 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(รัฐประหาร) -
15
(1,2) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 40 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 : เลือกตั้งทั่วไป) -
41 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย) -
16
(1-3) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 42 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 30 เมษายน พ.ศ. 2526
(ยุบสภา)[3] (ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2524)
43 30 เมษายน พ.ศ. 2526
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(ยุบสภา)[4] -
44 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(ยุบสภา)[5]
17
(1,2) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 45 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(ลาออก)
พรรคชาติไทย
46 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(รัฐประหาร)
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 1 มีนาคม พ.ศ. 2534
18
(1) นายอานันท์ ปันยารชุน 47 2 มีนาคม พ.ศ. 2534
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดย รสช.) 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 : เลือกตั้งทั่วไป) -
19 พลเอก สุจินดา คราประยูร 48 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ) -
- นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 48 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่) (รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
18
(2) นายอานันท์ ปันยารชุน 49 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร) 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(ยุบสภา)[6] -
20
(1) นายชวน หลีกภัย 50 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(ยุบสภา)[7]
พรรคประชาธิปัตย์
21 นายบรรหาร ศิลปอาชา 51 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(ยุบสภา)[8]
พรรคชาติไทย
22 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 52 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
พรรคความหวังใหม่
20
(2) นายชวน หลีกภัย 53 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(ยุบสภา)[9]
พรรคประชาธิปัตย์
23
(1,2) พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร 54 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(สภาครบวาระ)
พรรคไทยรักไทย
55 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.) 19 กันยายน พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
24 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 56 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี ก่อนเข้ารับตำแหน่ง) 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 : เลือกตั้งทั่วไป) -
25 นายสมัคร สุนทรเวช 57 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)[10]
พรรคพลังประชาชน
26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 57 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 18 กันยายน พ.ศ. 2551
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่)
พรรคพลังประชาชน
58 18 กันยายน พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี)[11]
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 58 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่) (รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 59 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) ปัจจุบัน
พรรคประชาธิปัต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร
รักษาการนายกรัฐมนตรี (ผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี)
รัฐประหาร
นายกรัฐมนตรีไทย
(พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)
ลำดับ
(สมัย) รูป รายนาม ครม.
คณะที่ เริ่มวาระ
(เริ่มต้นโดย) สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย) ที่มา
1
(1-3) ประธานคณะกรรมการราษฎร
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 : เลือกตั้งทั่วไป) (อดีตกรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7)
2 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 เมษายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา)
3 1 เมษายน พ.ศ. 2476
(พระราชกฤษฎีกา) 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(รัฐประหาร)
2
(1-5) พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 4 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(ลาออก) คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
5 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(ลาออก เนื่องจากสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
6 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(ลาออก เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
7 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(สภาครบวาระ)
8 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(ยุบสภา)[1]
3
(1,2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม) 9 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(ลาออก เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม) คณะราษฎร
(ผู้บัญชาการทหารบก)
10 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(ลาออก เนื่องจากส.ส.ไม่อนุมัติร่างพ.ร.บ.และพ.ร.ก.)
4
(1) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 11 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง) คณะราษฎร
5 นายทวี บุณยเกตุ 12 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(ลาออก เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน) -
6
(1) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 13 17 กันยายน พ.ศ. 2488
(เสนอชื่อโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(ยุบสภา)
ขบวนการเสรีไทย
4
(2) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 14 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากแพ้มติสภาที่เสนอพ.ร.บ.ที่รัฐบาลรับไม่ได้) -
7
(1-3) ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 15 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
(ลาออกเพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489และให้เลือกตั้งทั่วไป)
ขบวนการเสรีไทย
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8)
16 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(ลาออก เนื่องจากถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสรรณคตของรัชกาลที่ 8)
8
(1,2) พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 17 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(ลาออก เนื่องจากมีกระแสกดดันที่รุนแรง) พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
18 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร)
คณะทหารแห่งชาติ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
4
(3,4) พันตรี ควง อภัยวงศ์
(หลวงโกวิทอภัยวงศ์) 19 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(รัฐประหาร) 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
พรรคประชาธิปัตย์
20 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(ลาออก เนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง)
3
(3-8) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(แปลก พิบูลสงคราม) 21 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 : เลือกตั้งทั่วไป) -
22 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง)
23 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(รัฐประหาร) 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่)
24 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 : เลือกตั้งทั่วไป)
25 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(สภาครบวาระ)
26 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(รัฐประหาร) พรรคเสรีมนังคศิลา
คณะปฏิวัติ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 21 กันยายน พ.ศ. 2500
9 นายพจน์ สารสิน 27 21 กันยายน พ.ศ. 2500
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(ลาออก) -
10
(1) จอมพลถนอม กิตติขจร 28 1 มกราคม พ.ศ. 2501
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
(ลาออกและรัฐประหาร) -
11 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 29 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(ถึงแก่อสัญกรรม) (ผู้บัญชาการทหารบก)
10
(2-4) จอมพลถนอม กิตติขจร 30 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 : เลือกตั้งทั่วไป) (ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2507)
31 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(รัฐประหาร) -
สภาบริหารแห่งชาติ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 17 ธันวาคม พ.ศ. 2515
จอมพลถนอม กิตติขจร 32 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา) -
12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 33 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง) 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(ลาออก โดยอ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ) -
34 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 : เลือกตั้งทั่วไป)
6
(2) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 35 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(ไม่ได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส.ในการแถลงนโยบาย)
พรรคประชาธิปัตย์
13 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 36 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 20 เมษายน พ.ศ. 2519
(ยุบสภา)[2]
พรรคกิจสังคม
6
(3) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 37 20 เมษายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 กันยายน พ.ศ. 2519
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์จอมพลถนอมกลับมาอุปสมบท)
พรรคประชาธิปัตย์
38 25 กันยายน พ.ศ. 2519
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 39 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(รัฐประหาร) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(รัฐประหาร) -
15
(1,2) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 40 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 : เลือกตั้งทั่วไป) -
41 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย) -
16
(1-3) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 42 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 30 เมษายน พ.ศ. 2526
(ยุบสภา)[3] (ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2524)
43 30 เมษายน พ.ศ. 2526
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(ยุบสภา)[4] -
44 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(ยุบสภา)[5]
17
(1,2) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 45 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(ลาออก)
พรรคชาติไทย
46 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(รัฐประหาร)
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 1 มีนาคม พ.ศ. 2534
18
(1) นายอานันท์ ปันยารชุน 47 2 มีนาคม พ.ศ. 2534
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดย รสช.) 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 : เลือกตั้งทั่วไป) -
19 พลเอก สุจินดา คราประยูร 48 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(ลาออก เนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ) -
- นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 48 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่) (รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
18
(2) นายอานันท์ ปันยารชุน 49 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ โดยนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร) 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(ยุบสภา)[6] -
20
(1) นายชวน หลีกภัย 50 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(ยุบสภา)[7]
พรรคประชาธิปัตย์
21 นายบรรหาร ศิลปอาชา 51 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(ยุบสภา)[8]
พรรคชาติไทย
22 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 52 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(ลาออก เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
พรรคความหวังใหม่
20
(2) นายชวน หลีกภัย 53 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(ยุบสภา)[9]
พรรคประชาธิปัตย์
23
(1,2) พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร 54 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(สภาครบวาระ)
พรรคไทยรักไทย
55 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(รัฐประหาร)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.) 19 กันยายน พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
24 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 56 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี ก่อนเข้ารับตำแหน่ง) 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 : เลือกตั้งทั่วไป) -
25 นายสมัคร สุนทรเวช 57 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)[10]
พรรคพลังประชาชน
26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 57 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 18 กันยายน พ.ศ. 2551
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่)
พรรคพลังประชาชน
58 18 กันยายน พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี)[11]
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 58 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง) 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(โปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่) (รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน)
27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 59 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(มติสภาผู้แทนราษฎร) ปัจจุบัน
พรรคประชาธิปัต
รัฐสภาไทย
รัฐสภาไทย
ไทยรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้
1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
[แก้] อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ไทยรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้
1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
[แก้] อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)